วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การกำเนิดของสิ่งมีชีวิต

โบกาฉิ (Bokashi) เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่า การหมัก (Compost) ที่จำเป็นต้องเรียกว่า โบกาฉิเนื่องจากผู้คิดค้นทำอีเอ็มน้ำให้เป็นอีเอ็มแห้งในรูปจุลินทรีย์แห้งคือคน แรกคือ ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ ปัจจุบันมีการใช้อีเอ็มอย่างหลากหลายทั่วโลกประมาณ 180 ประเทศ ผู้ใช้จากทั่วโลกจึงมีความยินดีเรียก โบกาฉิตามศัพท์เดิมที่มาจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการเข้าใจตรงกันว่าเป็นการทำปุ๋ยหมักด้วยอินทรียวัตถุ ที่หมักด้วยจุลินทรีย์อีเอ็มเท่านั้น ปัจจุบันได้มีการเรียกโบกาฉิในรูปของปุ๋ยชีวภาพต่างๆ ตามแต่ละท้องที่หรือผู้ส่งเสริมเผยแพร่จะเรียกเรียกชื่อ

โบกาฉิเป็นการเพาะเลี้ยงจากจุลินทรีย์อีเอ็มที่เป็นน้ำให้เป็นอีเอ็มแห้ง ซึ่งมีวัสดุ เช่น รำข้าว มูลสัตว์ และแกลบ เมื่อการเพาะเลี้ยงเสร็จสมบูรณ์ภายใน 5-7 วัน จุลินทรีย์อีเอ็มจะเพิ่มจำนวนประชากรขึ้นเป็นจำนวนมาก แล้วนำไปเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น จุลินทรีย์อีเอ็มจึงอยู่ในรูปอีเอ็มแห้ง เมื่อเป็นอีเอ็มแห้งแล้ว จะมีอายุการเก็บรักษาได้อย่างยาวนานขึ้น เมื่อนำไปใช้ในด้านการปลูกพืช การประมง การรักษาสิ่งแวดล้อมจึงสามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากและยังมีคุณสมบัติเหมือน จุลินทรีย์อีเอ็มน้ำทุกประการ

วัสดุ

1. รำละเอียด 1 ปี๊บ
2. มูลสัตว์ 1 ปี๊บ
3. แกลบ 1 ปี๊บ
4. ถังน้ำ 10 ลิตร 1 ใบ
5. จุลินทีย์อีเอ็ม 20 ซี.ซี. (2 ช้อนโต๊ะ )
6. กากน้ำตาล 20 ซี.ซี.
7. จอบ หรือ พลั่ว 1 อัน

วิธีทำ

1. นำมูลสัตว์ และแกลบคลุกให้เข้ากัน
2. เติมน้ำลงในถัง 10 ลิตร แล้วเติมจุลินทรีย์อีเอ็มและกากน้ำตาลลงไปอย่างละ 20 ซี.ซี. คลุกให้เข้ากัน รดลงที่ส่วนผสมของมูลสัตว์และแกลบ (ในข้อ1) ให้มีความชื้นพอหมาดๆ ให้น้ำกระจายทั่วทุกส่วนอย่าให้น้ำเปียกแฉะใช้มือบีบดูอย่าให้มีน้ำซึม ผ่านออกมา (น้ำผสมอีเอ็ม 10 ลิตรอาจจะใช้ไม่หมด)
3. โรยรำละเอียดให้รำข้าวกระจายทั่วถึง จะเกิดความชื้นหมาดๆ พอดี

การหมัก
การหมักเพื่อให้จุลินทรีย์อีเอ็มเพิ่มหรือขยายจำนวนประชากรให้มากขึ้น มีการหมัก 2 แบบคือ
1. หมักโดยกองกับพื้นให้สูงจากพื้นประมาณ 20 เซนติเมตร คลุมด้วยกระสอบป่านภายใน 5 ชั่วโมงจะมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ประมาณ 50 องศาเซลเซียส ในวันที่ 2 และวันที่ 3 ให้คลุกผสมใหม่ นำกระสอบคลุมไว้เหมือนเดิม เมื่อครบ 5-7 วัน ปุ๋ยหมักจะแห้งสนิท สามารถนำไปใช้ หรือเก็บรักษาไว้ในที่ร่ม
2. หมักในกระสอบพลาสติก โดยบรรจุลงในกระสอบพลาสติกสานที่มีรูระบายอากาศได้ดี ประมาณ ½ กระสอบ มัดปากกระสอบนอนไว้แล้วเก็บในที่ร่มอากาศถ่ายเท เมื่อถึงวันที่ 2 และวันที่ 3 ให้พลิกกระสอบ เพื่อให้จุลินทรีย์อีเอ็มสร้างสปอร์หรือเพิ่มจำนวนประชากรทุกส่วนได้อย่าง ทั่วถึง เมื่อ 5-7 วันปุ๋ยหมักจะแห้งสนิท

การนำไปใช้
1. หว่านโบกาฉิในแปลงปลูกพืชผัก 2-3 กำมือต่อตารางเมตร คลุมฟางที่แปลงผัก รอบทรงพุ่มไม้ผลไม้ยืนต้น แล้วรดด้วยน้ำอีเอ็ม อีเอ็มหมักน้ำซาวข้าว สารสกัดยอดพืช ฮอร์โมนผลไม้ ฮอร์โมนจากเปลือกผลไม้ฮอร์โมนจากหอยเชอรี่ ฮอร์โมนจากรกสุกร ฮอร์โมนจากขยะเศษอาหาร จะทำให้พืชงาม แข็งแรงไม่มีแมลงรบกวน
2. หว่านโบกาฉิลงไปที่คอห่านหัวส้วม 5 วันต่อครั้งๆ ละ1 กำมือห้องส้วมจะไม่มีกลิ่นเหม็นและไม่เต็มง่าย หว่านโบกาฉิลงในแหล่งน้ำเสีย 2 กิโลกรัม/น้ำเสีย 10 ลูกบาศก์เมตร น้ำเสียจะใสสะอาดภายใน 3-5 วัน หว่านโบกาฉิลงที่กองขยะที่ส่งกลิ่นเหม็น กลิ่นเหม็นจะหายไปและไม่มีแมลงวัน
3. หว่านโบกาฉิลงในบ่อที่เลี้ยงปลา กบ ตะพาบน้ำ จระเข้ กุ้ง อัตรา 100-150 กิโลกรัม/ไร่ จะทำให้น้ำในบ่อใสสะอาดเหมือนน้ำธรรมชาติ ไม่มีกลิ่นเหม็น พยาธิในบ่อจะไม่มี ปลาจะแข็งแรง ไม่เกิดโรค
4. หว่านโบกาฉิอัตรา 100-150 กิโลกรัม/ไร่ ในนาข้าวหลังการเก็บเกี่ยว แล้วไถกลบ จะทำให้ดินนิ่ม ร่วนซุย ดินโปร่งมีช่องอากาศแทรกในเม็ดดิน ปักดำง่าย ได้ผลผลิตสูง ในปีที่ 1 จะได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 500 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อใช้ติดต่อกันประมาณ 5-6 ปี จะได้ผลผลิตประมาณ 1,000 กิโลกรัม/ไร่ แล้วหยุดการใช้โบกาฉิ สักระยะเนื่องจากดินเหมือนดินในธรรมชาติที่เคยอุดมสมบูรณ์มาเมื่อ 50-100 ปี โรคข้าว เช่น โรครากเน่า-โคนเน่า โรคถอดฝักดาบ โรคเพลี้ยไฟ โรคหนอนกระทู้คอรวง ฯลฯ จะหาไม่พบเลยเมื่อใช้โบกาฉิแล้ว กบ เขียด กุ้ง หอย ปลา ฯลฯ จะกลับคืนสู่ท้องนาอย่างอุดมสมบูรณ์เหมือนที่เคยมีในอดีต
5. หว่านโบกาฉิรอบทรงพุ่มไม้ผล 3-5 กำมือ/ตารางเมตร (ไม่ให้ชิดโคนต้น) หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต จะทำให้ดินร่วนซุยขึ้น ไม้ผลเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง มีไส้เดือนมาอาศัยอยู่ในสวนเป็นจำนวนมาก พื้นที่ในสวนที่ใช้โบกาฉิจะเก็บรักษาน้ำฝนไว้ไต้ดินจำนวนมาก หน้าแล้งไม้ผลจะออกใบเขียวชอุ่มอยู่ตลอดปี พืชไม่ชะงักการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตสูง รสชาติไม้ผลหอมหวานกลมกล่อมเป็นธรรมชาติ ไม่มีโรคและแมลงศัตรูพืชทำลายให้เกิดความเสียหาย

การใช้โบกาฉิ ซึ่งเป็นปุ๋ยหมัก ที่เพาะเลี้ยงจุลินทรีย์อีเอ็มลงไปในอินทรียวัตถุทุกท้องถิ่นหาวัสดุทำได้ ง่าย เป็นปุ๋ยมีชีวิต สร้างดินให้มีชีวิต ปรับโครงสร้างของดินให้เกิดระบบนิเวศที่มีความสมดุลตามธรรมชาติได้อย่างรวด เร็ว คือในระบบนิเวศจะมีพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ถ้าหากทุกพื้นที่ของโลกเกิดความสมดุลทางดังกล่าว ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม ลมพายุ นับวันจะเกิดความรุนแรงเสียหายเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปีจะไม่เกิดขึ้น

กิจกรรมเสนอแนะ
สาาร คดีกองทัพบกเพื่อประชาชนวันเสาร์ เวลา 07.30 – 08.00 น.สถานีวิทยุเครื่อข่ายของกองทัพบกทั่วประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี คลื่น 95.75 MHz
รายการสื่อสัมพันธ์ป่าดงนาทาม วันอาทิตย์ เวลา 20.30 – 21.30 สถานีวิทยุกองทัพเรือ คลื่น 104 MHz และ วันอาทิตย์ เวลา 21.30–22.30 สถานีวิทยุกองทัพภาค 2 คลื่น 95.75 MHz

เอกสารอ้างอิง
โกวิทย์ ดอกไม้. การดำเนินการพึ่งพาตนเองในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และ การใช้จุลินทรีย์ อีเอ็ม เบื้องต้น ฝ่ายประชาสัมพันธ์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพ 2542.
โกวิทย์ ดอกไม้. เทคนิคการใช้จุลินทรีย์ อีเอ็ม ศูนย์ส่งเสริมการใช้จุลินทรีย์ อีเอ็ม เพื่อการเกษตรและ สิ่งแวดล้อม จังหวัดอุบลราชธานี 2543.
พิเชษฐ์ วิสัยจร. เศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์อำนวยการประสานงานโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง เฉพาะพื้นที่ป่าดงนาทาม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พิมพ์ครั้งที่ 3 จังหวัดอุบลราชธานี 2544.
หาญ ลีนานนท์. เกษตรชีวภาพ คือวิถีชีวิตชาวนาไทย สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสตูล ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม และประธานที่ปรึกษากรรมาธิการทหารวุฒิสภา กรุงเทพ ฯ 2544.
ศูนย์ฝึกอบรม และเผยแพร่เกษตรธรรมชาติคิวเซ. การใช้จุลินทรีย์ อีเอ็มเพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อมวันนี้ มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา พิมพ์ครั้งที่ 14 กรุงเทพ ฯ 2542.
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร.สู่ชีวิตใหม่ ชุมชนบ้านหินแห่-หินเจริญ อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี 2546.
อภิ ชาติ ดิลกโสภณ และคณะ. โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพ ฯ 2546.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น