ศรัทธาความสำเร็จของผู้นำ
นายพิษณุ ตุลสุข
ผู้อำนวยการประถมศึกษาจังหวัดน่าน
ในหลายวิกฤตการณ์ที่มีความยากยิ่งในการที่จะนำพาองค์กรหรือสถาบัน ให้ผ่านพ้นสถานการณ์คับขัน หรือการสร้างความสำเร็จให้แก่องค์กร หรือสถาบันนั้นได้ในวิกฤตการณ์และข้อจำกัดอย่างมากมายนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นให้เราได้พบเห็นอยู่บ่อยครั้ง และบางครั้งหลายคนไม่อยากเชื่อว่าเป็นความจริง และเรียกปรากฏการณ์นั้นว่า "ปาฏิหารย์"
แต่ แท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนั้นมากกว่าครึ่ง เป็นผลมาจากผู้นำยิ่งภาวะวิกฤต ที่ยุ่งยากเท่าใด จำนวนคนหรือองค์กรหรือหมู่คณะนั้นมากมายมหาศาลเท่าใดยิ่งต้องอาศัย ศักยภาพของผู้นำที่สูงสุด จนนำมาสู่คำกล่าวที่ว่า "สถานการณ์สร้างวีระบุรุษ"
ผู้นำที่จะเป็นวีระบุรุษหรือผู้นำแห่งความสำเร็จในวิกฤตการณ์หรือสถานการณ์ใด จะไม่ประสบความสำเร็จได้เลย หากปราศจากความศรัทธาของบุคลากรภายใต้การนำ ฉะนั้นศรัทธาของผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงานของนักบริหารจัดการทั้งหลาย จึงเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จผู้นำนั้นได้เป็นอย่างดี
"ฝูงสัตว์ต้องต้อน" เราคงเห็นภาพโคบาลที่คอยต้อนฝูงวัว ฝูงม้า ชาวปศุสัตว์ที่คอยไล่ต้อนฝูงแพะแกะ "ฝูงคนต้องนำ" ในความเป็นคนนั้นมีศักดิ์ศรีไม่มีใครยอมให้ใครต้อน มีแต่ความศรัทธาต่อผู้นำเท่านั้นจึงยินยอมเดินตาม "ศรัทธา" จึงเป็นสิ่งยอดปรารถนาที่ผู้นำ ผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา ผู้จัดการหรือชื่ออื่นๆ ตามแต่จะเรียกขาน มุ่งหวังและพยายามที่จะทำให้เกิดขึ้นต้องการและปรารถนาให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกทีมเพื่อนร่วมงานตลอดจนคนทั่วไป เกิดความศรัทธาต่อตน
ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินกว่าที่จะทำได้
ศรัทธาพจนานุกรมให้ความหมายว่าความเชื่อ ความเลื่อมใส แต่ ในหลักแห่งภาวะผู้นำนั้น ศรัทธา คือ ความเชื่อที่ผู้อยู่ใต้การนำมอบให้แก่ผู้นำ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคำสั่งหรือการชี้นำของผู้นำ บางครั้งกระทำได้แม้สละชีวิต เช่น นักบินกามิกาเช่ ยอมตายเพื่อกองทัพญี่ปุ่น หรือนักเลงกำลังภายในที่กล่าวว่า " นักสู้ยอมตายเพื่อผู้รู้ใจ"
ความศรัทธาที่ผู้นำจะได้มานั้นจะเกิดขึ้นได้จากความเชื่อของผู้อยู่ใต้การนำมอบให้ผู้นำอยู่ 4 ประการ คือ
"ความเชื่อมั่น เชื่อมือ เชื่อถือ และเชื่อใจ"
ความเชื่อทั้ง 4 ประการนี้ ผู้นำทุกคนสามารถสร้างขึ้นมา เพื่อเพิ่มศักยภาพแห่งภาวะผู้นำของตนเองได้
เชื่อมั่น คือ การสร้างความมั่นใจให้เกิดแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ตาม ให้เกิดความมั่นใจได้ว่า เราสามารถจะเป็นผู้นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ เปรียบเสมือนถ้าเราเป็นกัปตัน ก็เป็นที่มั่นใจแก่ลูกเรือว่าเราจะนำเรือลำนี้ตลอดรอดฝั่ง และกลับสู่แผ่นดินถิ่นฐานได้อย่างปลอดภัย
ความเชื่อมั่นจะเกิดจากเกียรติประวัติของผู้นำ ชื่อเสียง เกียรติ ภูมิ ภูมิรู้ ภูมิปัญญา อันบ่งบอกถึงความณรู้แจ้ง รู้ตริง และมีความมั่นคงในฐานะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือความมั่นคงในอารมณ์ หรือที่เรียกว่าวุฒิภาวะทางอารมณ์และการควบคุมอารมณ์ของผู้นำนั่นเองและบุคลิกภาพของผู้นำ ก็เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ร่วมงานหรือบุคคลทั่วไปได้ด้วย
เชื่อมือ หมายถึง นอกจากภูมิรู้ ภูมิปัญญาแล้ว ผู้นำยังแสดงฝีมือให้ปรากฏด้วย
ประสบการณ์และความสำเร็จจากที่อื่น ของผู้นำยังไม่มีค่าเทียบเท่าพอกับสิ่งที่ได้ทำลงมือทำให้
ผู้ร่วมงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ประจักษ์ชัดด้วยสายตาว่าผู้นำเป็นผู้ที่มีฝีมือจริง สมดังคำเล่าลือ
แค่นี้ก็เป็นความสำเร็จในการสร้างศรัทธาขั้นที่ 2 แล้ว
ทำจริงด้วยกล้าหาญ เด็ดเดี่ยวจะสร้างความเชื่อมือได้เป็นอย่างดี
เชื่อถือ หมายถึง การสร้างความเชื่อถือแก่บุคคลทั่วไป โดยได้รับความเคารพนับถือใน
คุรสมบัติความเป็นผู้นำ ไม่ใช่ด้วยวัยวุฒิหรือชาติวุฒิหรือวุฒิทางการศึกษา แต่เป็ฯความเชื่อถือที่
เกิดจากการรักษาคำพูด พูดแล้วต้องปฏิบัติได้ตามนั้น พฤติกรรมและคำพูดต้องสอดคล้องเป็นไปในทางเดียวกัน สสัญยาแล้วต้องทำได้จริง และที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ การรักษาเวลา กำหนดนัด
หมาย และการตรงต่อเวลา เป็นการสร้างความเชื่อถือได้เป็นอย่างดี
บทพิสูจน์ของความเชื่อถือ คือ การได้รับเครดิตพิเศษจากคนอื่นที่คบหาสมาคมด้วย
เชื่อใจ หมายถึง การไว้วางใจต่อผู้นำ ผู้ใต้บังคับบัญชาไว้ใจผู้บังคับบัญชาว่า ไม่เป็นผู้ผูกพยาบาทอาฆาตลูกน้อง เป็นผู้รักษาความลับได้ดี ไม่มีจิตริษยา ไม่คิดคดทรยศหักหลัง พฤติกรรมต่อหน้าและลับหลังเป็นเช่นเดียวกัน มีบุคลิกภาพที่โอ่อ่าเปิดเผย มีความสุจริตใจ เป็นที่พึ่งพาอาศัย
ของผู้ใต้บังคับบัญชาได้
นี่คือสี่เหตุความเชื่อ เชื่อมั่น เชื่อมือ เชื่อถือ เชื่อใจ อันจะนำสู่ผลคือ "ศรัทธา"
เมื่อ ได้ครบทั้งสี่ความเชื่อแล้ว นั่นคือ ความศรัทธาที่จะนำพาผู้ใต้บังคับบัญชา ฝ่าฟันอุปสรรค ขวากหนาม สร้างความสำเร็จให้แก่องค์กรและสถาบันได้โดยไม่ยากเย็น แม้จะอยู่ในวิกฤตการณ์ที่ยากยิ่งสาหัสเพียงใดก็ตาม แม้จะมีทางออกที่จะพบกับความสำเร็จเพียงริบหรี่แต่ผู้นำที่ได้รับความศรัทธา จะนำพาองค์กรและหมู่คณะทะลุทะลวงไปสู่ความสำเร็จนั้นได้อย่างปาฏิหารย์เสมอ
"ปาฏิหารย์มีจริงเสมอสำหรับผู้นำที่ได้รับความศรัทธา"
ความสำเร็จที่เกิดได้ในวันนี้
ย่อมอยู่ที่ศรัทธาอันยิ่งใหญ่
เชื่อมั่น เชื่อมือ เชื่อถือ เชื่อใจ
ขอรับไว้ด้วยสำนึกในบุญคุณ
มูลเหตุของการเกิดศรัทธาและศาสนา
การถือกำเนิดของศาสนา หรือพูดของในแง่ทางการ กล่าวคือ “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า” ใน ระยะเริ่มแรกนั้น เกิดจากความไม่รู้ของมนุษย์ที่มีต่อปรากฏการณ์ธรรมชาติ กล่าวคือ มนุษย์ได้ประสบกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับชีวิต เช่น ความมืด ความสว่าง น้ำท่วม พายุ ฝนตก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ไฟป่า น้ำท่วม กลางวัน กลางคืน การเกิด การตาย เป็นต้น อีกทั้งขอบเขตของความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่างๆที่มีจำกัด ทำให้มนุษย์ในสมัยดึกดำบรรพ์ไม่สามารถอธิบายสาเหตุที่แท้จริงอันอยู่เบื้อง หลังของภัยธรรมชาติเหล่านั้นได้ ดังนั้นมนุษย์จึงมองว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งน่าหวาด กลัว ทรงอานุภาพ ลึกลับ และมหัศจรรย์
จาก ความไม่เข้าใจในธรรมชาติและความกลัว ทำให้มนุษย์เชื่อว่ามีบางสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ เช่น เทพเจ้า ภูตผี วิญญาณ เป็นผู้ดลบันดาลให้ปรากฏการณ์ธรรมชาติเกิดขึ้น ดังนั้น มนุษย์จึงแสวงหา วิธีการที่จะคุ้มครองให้ตน อยู่อย่างเป็นสุข โดยสร้างวัฒนธรรม หรือจัดพิธีบูชาและเซ่นสรวงเทพเจ้าขึ้น โดยพิธีกรรมเหล่านั้นได้แก่ การบูชายัญ การสวดวิงวอน สวดสรรเสริญ เป็นต้น เพื่อเป็นการแสดง ความเคารพนับถือ และเอาใจเทพเจ้า แนวความคิดขั้นพื้นฐานที่ใช้อธิบายความเป็นไปทั้งหลายนี้ก็จัดว่าง่ายมาก ขึ้น เนื่องจากพลังสำคัญๆ ทางธรรมชาติจะถูกจินตนาการและปฏิบัติต่อเสมือนหนึ่งเป็นมนุษย์ แต่ทรงพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์ รวมทั้งอำนาจแห่งความเป็นอมตะ อำนาจที่ได้ถูกจินตนาการให้มีตัวมีตนขึ้นมา หรืออีกนัยหนึ่ง คือ เทพเจ้าได้เข้ามามีบทบาท มีส่วนร่วมอยู่ในสังคมการเมืองของมนุษย์เข้าแล้ว
จะ เห็นได้ว่า การที่มนุษย์ยอมรับสิ่งเหนือธรรมชาติ หรือเทพเจ้า ก็เพราะมนุษย์ต้องการความอบอุ่นใจ หรือต้องการหาที่พึ่ง ซึ่งการมีที่พึ่งทำให้มนุษย์ไม่รู้สึกอ้างว้างโดดเดี่ยว หรือเมื่อต้องการพ้นภัยก็จะอ้อนวอนร้องขอจากเทพเจ้า หรือหากเทพเจ้าพึงพอใจกับพิธีบูชาแล้วก็ย่อมจะอำนวยสภาพแวดล้อม ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ แต่ในทางตรงกันข้าม หากเทพเจ้าไม่พอใจก็อาจดลบันดาลให้เกิดภัยพิบัติให้แก่มนุษย์ได้เช่นกัน จากความเชื่อของกลุ่มคน ขนบธรรมเนียมประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อต่อสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ จึงค่อยๆ วิวัฒนาการเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นลัทธิ และศาสนาต่างๆ มีผู้เสนอว่า ศรัทธา หรือความเชื่อนับเป็นจุดเริ่มต้นทางศาสนาทั้งปวง ซึ่งศรัทธาในทางศาสนานั้นมีอยู่สองประเภท ได้แก่ ศรัทธาอันเป็นญาณสัมปยุต คือ ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา รู้เหตุ รู้ผล และศรัทธาอันเป็นญาณวิปปยุต คือ ความเชื่ออันเกิดจากความไม่รู้เหตุไม่รู้ผล หากจะแยกให้เห็นมูลเหตุของศาสนาตามวิวัฒนาการทางความคิดของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันสามารถแยกได้ดังนี้ คือ
๑. เกิดจากอวิชชา : อวิชชา คือ ความไม่รู้ พูดภาษาชาวบ้านว่า โง่! ในที่นี้ได้แก่ความไม่รู้เหตุรู้ผล เริ่มแต่ความไม่รู้เหตุผลทางภูมิศาสตร์ ทางดาราศาสตร์ ไม่รู้ชีววิทยา และไม่รู้จักธรรมชาติอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เมื่อมีความไม่รู้เหตุผลก็เกิดความกลัวในพลังทางธรรมชาติ ต้องการความช่วยเหลือจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งมีอำนาจเหนือตน จึงมีการสร้างขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อบูชาเอาใจสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น เพื่อที่จะสามารถช่วยให้มนุษย์มีความอยู่รอดไม่มีภัยต่อๆไป
๒. เกิดจากความกลัว : มนุษย์จะอยู่ในโลกได้ต้องมีหน้าที่ คือ การต่อสู้กับธรรมชาติ และสู้สัตว์ร้ายนานาชนิดและโดยเฉพาะกับมนุษย์ด้วยกันเอง ยามใดที่เราสามารถเอาชนะธรรมชาติหรือคนได้ ความเกรงกลัวธรรมชาติ สัตว์ร้าย หรือมนุษย์ย่อมไม่มี แต่ถ้าไม่สามารถต่อสู้ได้ มนุษย์จะเกิดความกลัวต่อสิ่งเหล่านั้น และในยามนั้นเอง ที่มนุษย์ต้องพากันกราบไหว้บูชา และแสดงความจงรักภักดี ทำพิธีสังเวยเซ่นไหว้ต่อธรรมชาติดังกล่าว ด้วยความหวังหรืออ้อนวอนขอให้สำเร็จตามความปรารถนาอันเป็นผลตอบแทนขึ้นมา เป็นความสุขความปลอดภัย และอยู่ได้ในโลก
๓. เกิดจากความจงรักภักดี : ความจงรักภักดีเป็นศรัทธาครั้งแรกที่มนุษย์ทุกยุคทุกสมัยยอมเชื่อว่า เป็นกำลังก่อให้เกิดความสำเร็จได้ทุกเมื่อ ในกลุ่มศาสนาที่นับถือพระเจ้า เช่น (ศาสนายิว ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม แม้แต่ศาสนาพุทธ) มุ่งเอาความภักดีต่อพระเจ้าเป็นหลักใหญ่ในศาสนา ในกลุ่มชาวอารยันมีศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) มีคำสอนถึงภักติมรรค คือ ทางแห่งความภักดี อันจะยังบุคคลให้ถึงโมกษะ คือหลุดพ้นได้ แม้ในทางพระพุทธศาสนาก็ยอมรับว่าศรัทธา หรือความเชื่อ ความเลื่อมใสเท่านั้นที่จะพาข้ามโอฆสงสารได้ เมื่อเป็นดังนี้แสดงว่ามนุษย์ยอมตนให้อยู่ใต้อำนาจของธรรมชาติเหนือตน อันเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเองซึ่งเรียกว่าเทพเจ้า หรือพระเจ้า อย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดตามมาคือมนุษย์ยอมให้เครื่องเซ่นสังเวยแก่ธรรมชาตินั้นๆ ด้วย ลักษณะนี้จึงเท่ากับมนุษย์เสียความเป็นใหญ่ในตน ยอมอยู่ใต้อำนาจของสิ่งที่ตนคิดว่ามีอำนาจเหนือตน
๔. เกิดจากปัญญา : ศรัทธา อันเกิดจากปัญญาคือมูลเหตุให้เกิดศาสนาอีกทางหนึ่ง แต่ศาสนาประเภทนี้มักเป็นฝ่ายอเทวนิยม คือไม่สอนเรื่องเทพเจ้าสร้างโลก ไม่ถือเทพเจ้าเป็นศูนย์กลางแห่งศาสนา หากแต่ถือความรู้ประจักษ์จริงเป็นสำคัญ เช่น พระพุทธศาสนา ความเน้นหนักของพระพุทธศาสนา คือ ญาณ หรือปัญญาชั้นสูงสุดที่ทำให้รู้แจ้งประจักษ์ความจริง และหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
๕. เกิดจากอิทธิพลของบุคคลสำคัญ : ศาสนา หรือลัทธิที่เกิดจากความสำคัญของบุคคลเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทุกแห่ง หน ที่มีเรื่องราว หรือความสำคัญของบุคคลที่อยู่ ณ. ที่นั้น ความสำคัญของบุคคลที่เป็นเหตุเริ่มต้นของศาสนา หรือลัทธิ โดยมากมักมีเหตุเริ่มต้นโดยความบริสุทธิ์จากจิตใจของมนุษย์ ไม่มีใครบังคับ ไม่มีใครวางหลัก อีกทั้งเมื่อใครนับถือความสำคัญของบุคคลผู้ใดก็จะพากันกราบไหว้ และเคารพบูชา
๖. เกิดจากลัทธิการเมือง : ลัทธิการเมืองอันเป็นมูลเหตุของศาสนาเป็นเรื่องสมัยใหม่ อันสืบเนื่องจากการที่ลัทธิการเมืองเฟื่องฟูขึ้นมา และลัทธิการเมืองนั้นได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อคนบางกลุ่ม เป็นต้นว่า กลุ่มคนยากจน ซึ่งคนเหล่านั้นก็ได้ละทิ้งศาสนาเดิมที่ตนเองนับถืออยู่แล้วหันมานับถือ ลัทธิการเมืองดังกล่าวเป็นศาสนาประจำสังคม หรือชาตินิยมลัทธิการเมือง เป็นต้นว่า ลัทธินาซี ลัทธิฟาสซิสม์ และลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นต้น
เมื่อ เกิดศาสนาหรือความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้ามา สิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ เกิดเทพนิยายต่างๆนาๆ ตามมา ทั้งนี้ก็เพราะว่าสิ่งใดที่มนุษย์ในยุคบรรพบุรุษเราไม่สามารถจะแสดงออกมาได้ อย่างเป็นที่พึงพอใจโดยอาศัยคำพูด สิ่งนั้นมนุษย์ก็พยายามระบายออกมาโดยอาศัยความคิดคำนึงทางเทพนิยาย ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดจินตนาการเรื่อง อวตาร ซึ่งแปลว่า “การก้าวลงมาเกิด การข้ามลงมาเกิด หรือการแบ่งภาคลงมาเกิด” เทพเจ้าแต่ละองค์จะมีธรรมชาติแห่งบุคลิกและอุปนิสัยใจคอเยี่ยงปุถุชนอย่าง พร้อมมูล อันข้อคิดเรื่องเทพเจ้าแปลงกายลงมาประกอบกรณียกิจบนพื้นโลกนี้มีมาแต่บรรพ กาลคือ ตั้งแต่ยุคคัมภีร์พระเวทแล้วทีเดียว ครั้นตกมาถึงยุคคัมภีร์ปุราณและคัมภีร์อุปปุราณ (เป็นคัมภีร์เก่าแก่ของศาสนาฮินดู) ข้อคิดอันนี้ก็ได้รับการพัฒนาให้งอกงามแผ่ไพศาลยิ่งขึ้น คำว่า “นารายณ์” แปลว่า ผู้ที่มีน้ำเป็นที่เคลื่อนไหว นารายณ์เป็นนามหนึ่งของพระวิษณุ ซึ่งมีอยู่ประมาณพันชื่อ เพราะฉะนั้น “นารายณ์สิบปาง” (ผู้อ่านคงเคยได้ยินมาบ้าง) จึงแปลว่า พระวิษณุนารายณ์อวตารหรือแบ่งภาคลงมาเกิดสิบยุคหรือสิบปาง ซึ่งมีลำดับตามพระคัมภีร์ ดังต่อไปนี้
ครั้งที่หนึ่ง “มัตสยาวตาร” ได้แก่อวตารเป็นปลา
ครั้งที่สอง “กูรมาวตาร” ได้แก่อวตารเป็นเต่า
ครั้งที่สาม “วราหาวตาร” ได้แก่อวตารเป็นหมู
ครั้งที่สี่ “นรสิงหาวตาร” ได้แก่อวตารเป็นนรสิงห์ (ครึ่งคนครึ่งสิงห์)
ครั้งที่ห้า “วามนาวตาร” ได้แก่อวตารเป็นคนแคระ (คนยังไม่สมบูรณ์)
ครั้งที่หก “ปรศุรามาวตาร” ได้แก่อวตารเป็นปรศุราม (คนป่าหรือคนถือขวาน)
ครั้งที่เจ็ด “รามาวตาร” ได้แก่อวตารเป็นพระราม
ครั้งที่แปด “กฤษณาวตาร” ได้แก่อวตารเป็นพระกฤษณะ
ครั้งที่เก้า “พุทธาวตาร” ได้แก่อวตารเป็นพระพุทธเจ้า
ครั้งที่สิบ “กัลกิยาวตาร” ได้แก่อวตารเป็นพระกัลกี (บุรุษผู้ขี่ม้าขาว)
นี่เป็นคัมภีร์ของศาสนาของฮินดู กล่าวว่า ตั้งแต่โลกได้อุบัติขึ้นจนตราบถึงทุกวันนี้ พระนารายณ์ได้อวตารมาแล้วถึงเก้าปางคือ “ปางที่สิ้นสุดด้วยพระพุทธเจ้า” ปางสุดท้ายคือปางที่สิบ “กัลกิยาวตาร” จะอุบัติขึ้นในเมื่อถึง กลียุค คือ ยุคปัจจุบันถึงกาลอวสานลง ในปางที่สิบนี้พระวิษณุจะเสด็จมาบนหลังม้าขาว “พระหัตถ์ถือพระแสงดาบซึ่งส่องแสงวาววาบประดุจดวงดาวหาง” พระองค์จะทรงปราบความชั่วร้ายในโลกแล้วสร้างพิภพแห่งความบริสุทธิ์ผุดผ่องขึ้นใหม่ (ตามพระคัมภีร์)
เรื่อง อวตารหรือพระผู้เป็นเจ้าแบ่งภาคลงมาเกิดในโลกมนุษย์นี้ ในแง่ของสังคมวิทยา ปราชญ์ผู้รู้มีความเห็นว่า เป็นเรื่องวิวัฒนาการของมนุษย์ที่ท่านนำมาสอนคนให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของ สังคมในสมัยนั้น เราจะเห็นได้ว่า ลำดับที่พระผู้เป็นเจ้าแบ่งภาคลงมาเกิดในมนุษย์โลกตามเทพนิยายของชาวฮินดู นั้น เริ่มต้นด้วยการกำเนิดเป็นปลา เป็นเต่า กล่าวคือ สัตว์ในน้ำก่อน แล้วจึงวิวัฒนาการมาเป็นหมู กล่าวคือสัตว์บก ต่อมาเป็นครึ่งคนครึ่งสัตว์ (ปางที่สี่) ตามลำดับ ต่อมาจึงเป็นคนที่ยังไม่สมบูรณ์ (ปางที่ห้า) แล้วก็เป็นคนป่าถือขวาน (ปางที่หก) ในที่สุดจึงเป็นคนที่เจริญแล้ว เป็นลูกตัวอย่างเป็นสามีอันเป็นแบบฉบับ เป็นผู้นำและเป็นกษัตริย์อุดมทรรศนะ (กล่าวคือพระรามในเรื่องรามเกียรติ์) ต่อมาก็พัฒนายิ่งขึ้นไป เป็นครูบาอาจารย์สอนคน (กล่าวคือพระกฤษณะและพระพุทธเจ้า) ตามลำดับ สารบัญชีแห่งการอวตารมาเกิดเป็นขั้นๆ ไปเช่นนี้ หากจะพิจารณากันโดยใช้หลักใหญ่เข้าประกอบแล้วก็คงจะเห็นได้ว่าไม่สู้จะห่าง ไกลจากหลักวิวัฒนาการ หรือทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolution Theory) ของชาร์ล ดาร์วิน (Charles Darwin) ของโลกเรานี้เท่าไรนัก
เรื่อง ยุคต่างๆ ก็มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเรื่องอวตารมาเกิด ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ คือ คัมภีร์ปุราณของชาวฮินดูกำหนดเวลาของโลกไว้ว่ามีสี่ยุคด้วยกัน คือ
- ยุคที่หนึ่งมีชื่อว่า “กฤตยุค” มีระยะเวลา ๔,๘๐๐ ปีเทวดา ในยุคนี้โลกมีสุขสันต์เพราะมีธรรมะครองโลก อยู่อย่างสมบูรณ์
- ยุคที่สองมีชื่อว่า “เตรตายุค” หรือไตรดายุค มีระยะเวลา ๓,๖๐๐ ปีเทวดา
- ยุคที่สามมีชื่อว่า “ทวาปรยุค” มีระยะเวลา ๒,๔๐๐ ปีเทวดา
- ยุคที่สี่มีชื่อว่า “กลียุค” มีระยะเวลา ๑,๒๐๐ ปีเทวดา
*(หนึ่งปีของเทวดานั้นในพระคัมภีร์กล่าวไว้ว่าเท่ากับ ๓๖๐ ปี ในโลกมนุษย์)
สิ่ง ที่หน้าสังเกตว่าแต่ละยุคมีระยะเวลาลดน้อยลงยุคละ ๑,๒๐๐ ปี หรือหนึ่งในสี่ของระยะเวลา ในยุคที่หนึ่ง ธรรมะซึ่งครองโลกก็ลดน้อยถอยลงในอัตราเดียวกันนี้ด้วย ดังนั้น เมื่อถึง “กลียุค” อันเป็นยุคปัจจุบันของเรานี้ จึงมีธรรมะเหลืออยู่ในโลกเพียงหนึ่งในสี่ส่วนของปริมาณเดิมในกฤตยุคเท่านั้น เอง ยุคทั้งสี่นี้เมื่อรวมกันเข้าแล้วเป็นหนึ่งมหายุคหรือหนึ่งมนวันดร และ ๒,๐๐๐ มหายุค หรือมนวันดรนี้จะเป็น หนึ่งกัลป์ ตามศัพท์ในพระคัมภีร์ของฮินดู เมื่อสิ้นหนึ่งกัลป์ โลกก็จะถึงซึ่งกาลาวสานครั้งสำคัญ ครั้นแล้วการสร้างสรรค์โลกจึงจะบังเกิดขึ้นใหม่อีกเพื่อรับการอวสานอีก หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้โดยไม่หยุดยั้ง นี่เป็นการกล่าวตามคัมภีร์ปุราณของศาสนาชาวฮินดู ซึ่งผู้เขียนยกขึ้นมาเพื่อให้ขบคิดกัน (ส่วนหนึ่งที่มา : ภารตวิทยา / กรุณา -เรืองอุไร กุศลาสัย รวบรวมและเรียบเรียง)
ดังที่กล่าวมาแล้วว่าในยุคปัจจุบันนี้เป็นยุคของ “กลียุค” ตามพระคัมภีร์ปุราณ เป็นยุคที่ธรรมะซึ่งครองโลกลดน้อยถอยลงเหลืออยู่ในโลกเพียงหนึ่งในสี่ส่วน ของปริมาณเดิม บางท่านอาจสงสัยว่าปัจจุบันนี้ก็ยังมีธรรมะอยู่นี่ แต่ปัจจุบันนี้เป็นธรรมะที่บริสุทธ์เหมือนดังสมัยยุคบรรพบุรุษเรานั้นยังมี เหลืออยู่เท่าไรกัน หรืออาจจะกล่าวได้ว่ายุคปัจจุบันนี้อาจเป็นยุคของการ “บริโภคนิยม” แล้วก็ได้ ดังจะกล่าวต่อไป
องค์กร จะครองใจลูกค้าไว้ได้ยาวนานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความศรัทธาที่ลูกค้ามีให้ ความศรัทธาจะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงความมั่นคง ที่องค์กรนั้นๆ จะประกอบธุรกิจได้ยืนยาวสืบต่อไปได้หรือไม่ แต่ถ้าองค์กรตั้งอยู่ในความประมาท หรือละเลย กับการรักษาศรัทธาที่ได้รับจากลูกค้า ประชาชน พนักงาน หรือแม้แต่ครอบครัวของพนักงาน ให้คงไว้ องค์กรก็จะเกิดปัญหาเพราะคนส่วนใหญ่จะเสื่อมศรัทธาไปในที่สุด
วิกฤติในตอนนี้เป็นวิกฤติที่ไม่ได้เกิดจาก ความรุนแรงของเหตุการณ์ หรืออุบัติเหตุใดๆ แต่เป็นวิกฤติที่มีเรื่องของจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นหากจะมองว่า เรื่องของจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ไม่น่าจะก่อให้เกิดความรุนแรงนั้น ขอบอกได้เลยว่า “เข้าใจผิด” เพราะ วิกฤติประเภทนี้ อาจจะเยียวยาได้ยากยิ่งกว่าความรุนแรงที่เกิดมาจากเหตุการณ์ อุบัติการณ์ต่างๆ ด้วยซ้ำ เพราะเรื่องของความรู้สึก อารมณ์ และจิตใจ เป็นเรื่องที่หาเครื่องมือ มาวัดอุณหภูมิความร้อนแรง หรือตรวจสอบว่าขณะนี้สงบแล้วหรือยัง เป็นเรื่องที่ยากจะหยั่งไปถึงจิตใจมนุษย์เราได้ จึงเป็นความท้าทายอย่างสูงขององค์กร
ความศรัทธา เป็นการหยั่งรากลึกในเรื่องของความรู้สึก ความเชื่อมั่น ความมั่นใจ และเชื่อถือในสินค้า การให้บริการ เจ้าของกิจการ บุคลากรในฝ่ายบริหารและพนักงานทุกคน การบริหารงาน ดังนั้นผู้ที่สรรค์สร้างให้เกิดศรัทธาขึ้นได้ จึงไม่ใช่ฝีมือของคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องเป็นความร่วมมือของคนทั้งองค์กรร่วมกันจรรโลงสิ่งเหล่านั้นให้เกิด ขึ้น ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และต้องสั่งสมอย่างต่อเนื่อง มาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน และหากมีสัญญาณใดสัญญาณหนึ่ง ที่บ่งบอกว่ากำลังจะเกิดวิกฤติศรัทธาขึ้นแม้แต่เพียงเล็กน้อย ก็เป็นหน้าที่ของทั้ง เจ้าของ ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัท ฝ่ายบริหาร และพนักงานทั้งองค์กร ที่ต้องร่วมกันแก้ไขให้วิกฤติศรัทธาคลี่คลายทันท่วงที ให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบในตอนต่อไป แต่ถ้าองค์กรของเราเป็นมืออาชีพ ก็ควรจะมีการวางแนวทางการป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติศรัทธาไว้ล่วงหน้าอย่าง แน่นหนา และต้องตรวจสอบอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
สำหรับเรื่องของวิกฤติศรัธาจะประกอบด้วย 5 ตอน เพื่อผู้อ่านจะได้เข้าใจถึง สาเหตุ สัญญาณการบอกเหตุ ตลอดถึงวิธีในการป้องกันและแก้ไขด้วย
สาเหตุของวิกฤติศรัทธา สามารถเกิดขึ้นมาจากหลายสาเหตุ ได้แก่
- เกิดจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายในการลดคุณภาพการผลิตลง
- ฝ่ายบริหารประเมินลูกค้าต่ำเกินไป
- การปัดความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ เมื่อมีการเปลี่ยนทีมผู้บริหารหรือเจ้าของ
- ความมั่นใจแบบผิดๆ ในการนำพาองค์กรของฝ่ายบริหาร
- ความไม่เอาไหนของตัวพนักงานด่านหน้า ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้วยจิตวิญญาณ หรือไม่คิดแม้แต่จะให้บริการโดยหน้าที่ ในขณะที่หัวหน้างานและฝ่ายบริหารก็ไม่ใส่ใจในรายละเอียด
- เมื่อถึงจุดอิ่มตัวโดยฝ่ายบริหารคิดว่า เราไม่มีความจำเป็นต้องง้องอนลูกค้าอีกต่อไป เพราะเราคือองค์กรชั้นแนวหน้าไม่มีใครมาทัดเทียมเราได้
- องค์กรไม่ปรับตัวให้ทันกับยุคสมัย ไม่ทันกับกระแส หรือไม่เตรียมพร้อมรับเทคโนโลยี่ใหม่ๆ ยังคงทำธุรกิจแบบเดิม ที่เรียกว่าแบบล้าสมัย ไม่ใช่แบบอนุรักษ์ หรือClassic
วิกฤติศรัทธา จะเกิดขึ้นได้ง่ายดาย ถ้าองค์กรนั้นเป็นองค์กรที่ธรรมชาติของการประกอบธุรกิจต้องมีการบริการโดย พนักงานทั้งที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง หรือปฏิสัมพันธ์โดยผ่านเทคโนโลยี่ชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นปฏิสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับการบริการหลังการขาย เพราะลูกค้าจะถือว่าทุกอย่างที่สื่อสารกันก่อนการซื้อขาย เป็นคำมั่นสัญญาที่องค์กรให้กับลูกค้าโดยผ่านพนักงานแต่ละคน หรือสื่อขององค์กร ซึ่งถือได้ว่าปฏิบัติหน้าที่ในนามขององค์กร ดังนั้นองค์กรจึงไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบใดๆ เลย และปัญหาที่คนทำงานที่มีอายุเกิน 50 ปี มักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันก็คือ “ไม่เข้าใจว่าเด็กสมัยนี้ ทำไมไม่ทุ่มเทให้องค์กรหรือลูกค้า แบบสมัยก่อน ทำไมเด็กพวกนี้คิดก็ไม่เหมือนก่อน ทำก็ไม่เหมือนก่อน” แน่นอน เพราะพวกเขาเป็นคนสมัยใหม่ จึงคิดไม่เหมือนคนยุคอายุเกิน 50 ปี และที่น่ากลัวคือมักจะมีสัญชาตญาณ ของการเอาตัวรอดสูงมาก แต่ที่น่ากลัวมากกว่านั้นก็คือ พวกเขาไม่รู้เลยว่า การกระทำเช่นนั้น กำลังสร้างความหายนะให้องค์กรแบบผ่อนส่ง สำหรับองค์กรที่โชคดี ถ้าหัวหน้างานเอาใจใส่กับการทำงานของลูกน้องมาก ก็จะพบเจอปัญหาได้รวดเร็ว แต่ถ้าเป็นหัวหน้างานที่ไม่ลงในรายละเอียด องค์กรนั้นจะอยู่ในสภาพนับถอยหลังที่จะพบวิกฤติเร็วขึ้น
ผลเสียหายที่เห็นได้ชัดเจนคือ ความไม่แน่ใจของลูกค้า ในตัวสินค้า การบริหารและการบริการ ว่าจะดีเหมือนเดิมหรือไม่ เนื่องจากมีประสบการณ์ที่เป็นลบกับผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการอยู่เนืองๆ ถ้าเป็นองค์กรที่สั่งสมความดี ความน่าเชื่อถือมายาวนาน วิกฤติศรัทธาที่เกิดขึ้นอาจจะไม่รุนแรงนัก แต่ถ้าเป็นองค์กรที่เกิดใหม่คงไม่มีอานิสงส์ ใดมาป้องกันได้
ตอนต่อไปจะพูดถึงสัญญานที่จะบ่งบอกว่าได้เกิด วิกฤติศรัทธาขึ้นกับองค์กรแล้วหรือยัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น